ประเภทน้ำยาแอร์และข้อแตกต่าง

เปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่าง แอร์น้ำยาR32 กับน้ำยาR410a และR22? 

วันนี้มาทำความรู้จัก ฮีโร่สายพันธ์ใหม่ผู้อาสามาช่วยโลกนับจากนี้ครับ เป็นน้ำยาทำ ความเย็นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประกาศตัวว่าดีกว่า R-410a และน้ำยา R22 น้ำยาชนิดนี้มีความแตกต่างอย่างไรเมื่อเทียบกับน้ำยา R-410A น้ำยาที่กล่าวถึงก็คือ"น้ำยา R32" ครับ น้ำยาแอร์ชนิดนี้ดีอย่างไร การติดตั้งแอร์ที่ใช้น้ำยา R-32 มีความแตกต่างจากน้ำยาR410A อย่างไร ทำไมเทรนทั่วโลกจึงหันมาหาน้ำยาชนิดนี้กัน?? ผมขอนำข้อมูลน้ำยาชนิดนี้มาพรีวิว กัน ทำความรู้จักและเตรียมพร้อมก่อนครับสำหรับผู้เกี่ยวข้องกับระบบแอร์แบบแยกส่วน หรือแอร์บ้าน ที่จะเปลี่ยนมาเป็นน้ำยา R-32

 

ก่อนอื่นขออธิบายเรื่อง ชั้นก๊าซเรือนกระจกก่อนเพราะเรื่องนี้ทำให้พระเอกเก่าอย่าง R410A ติดคดีเรื่องนี้ ทำให้พระเอกใหม่ R32 ขึ้นแท่นแทนครับ เมื่อก่อน เราเคยใช้น้ำยา R11,R12เป็นน้ำยาทำความเย็นก่อนที่จะเปลี่ยนเป็น R22,R134Aในช่วงต่อมาเนื่องจาก R11,R12ไปติดคดีทำให้โลกเป็นรูเนื่องจากส่วนประกอบของ R11 (CFCL3) ดันไปมีผู้ร้ายที่ทำโลกเป็นรูู ชื่อ คลอรีน CL อยู่ถึง 3 พี่น้องเกาะกัน ส่วน R12 (CFCL2)มีพี่น้องคลอรีน CL 2 พี่น้องเกาะกัน เลยหันเปลี่ยนไปใช้ R-22 (CLCHF2)ที่มี CL อยู่แค่ตัวเดียว และมีระยะเวลาคงสภาพไม่นานที่ 20 ปี ก็ สสายตัว

 

เมื่อมันเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ต่อไปเรื่อย ๆ แน่นอนครับ โอโซนโดนสอยเกลี้ยงแน่ ซึ่งตอนนี้ พระเอกวัยเก๋าอย่าง R-22 ที่มีคลอรีน กำลังจะโดนฆ่าตัดตอน โดยมีพระเอกชั่วคราวอย่าง R-410A มาเล่นบทพระเอกอยู่ในขณะนี้ แต่เหตุใดพระเอกชั่วคราวอย่าง R-410A ได้โลดแล่นไม่นานก็กำลังจะโดนพระเอกรักษ์โลกอย่าง R-32 มาแทนในอีก 2-4ปีข้างหน้าเล่า เหตุผลหลักมาจาก ค่าความสามารถในการทำให้โลกร้อนขึ้น เรียกว่า GWP (Global Warming Potential) ของน้ำยา R410A มีค่าที่สูงกว่าR22 และ R32 ตามตารางด้านล่าง R410A มีค่าทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ถึง 2090 ขณะที่R32มีเพียง 675 และ R22ผู้ร้ายของเรายังมีค่าน้อยกว่าR410Aซะด้วยซ้ำ

 

แต่พระเอก R32 แม้เมื่อเปรียบเทียบทั้ง 3ชนิดน้ำยาจัดว่าหล่อสุด ไม่ทำลาย โอโซน มีค่าการทำให้โลกร้อนน้อยมากแต่ R32 มีข้อตำหนินิดนึงตรง ติดไฟเล็กน้อย แบบเบาบาง แบบไม่ก่อให้เกิดอันตราย ทางประเทศญี่ปุ่นที่ให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยสูงมาก ไม่ค่อยจะให้น้ำหนักเท่าไหร่สำหรับประเด็นนี้ เนื่องจากน้อยมาก จนทางญี่ปุ่นตีว่าเป็นน้ำยาที่ไม่ติดไฟ และ น้ำยาR32ก็เป็นส่วนประกอบของน้ำยาR410Aอยู่ถึงครึ่งหนึง (R410A =50%R32 +50%R125) หายห่วงได้ครับประเด็นนี้ ดูจากภาพประกอบจะเห็นว่า เมื่อนำน้ำยาR32รั่วเข้าในห้องที่จุดเทียน มีเพียงแค่เทียนสว่างขึ้นเล็กน้อยเองครับ หรือภาพทดสอบการติดไฟโดยใช้หัวเชื่อมไปเจอจุดรั่วเลย จะเห็นว่า R22ซึ่งใช้น้ำมันคอมเพรสเซอร์ชนิด Mineral oil ยังมีเปลวไฟมากกว่าด้วยซ้ำครับ

 

ขอบคุณข้อมูล: vrvclub.com